5. อาร์เรย์(Array)

___________________

รับสอนเขียนJAVA , C# , VB.net

โทร 0853507540

___________________

5. อาร์เรย์(Array)

            อาร์เรย์ (หนังสือบางเล่นใช้คำว่าแถวลำดับ ตัวแปรชุด) ช่วยในการเก็บข้อมูลจำนวนมากโดยไม่ต้องประกาศตัวแปรเยอะๆ เช่น ต้องการเก็บข้อมูล 100 ข้อมูลก็ไม่ต้องประกาศตัวแปร 50 ตัวเพราะมันเสียเวลา ประกาศอาร์เรย์เดียวขนาด 100 ช่อง การใช้อาร์เรย์ยังไปได้ด้วยดีกับการใช้ลูป เพราะอาร์เรย์จะเก็บข้อมูลประเภทเดียวกัน เช่น เก็บ int ก็จะเก็บ int ทั้งอาร์เรย์ทำให้ใช้ลูปมาเก็บใส่ได้ดี การใช้งานอาร์เรย์ได้แก่ การเก็บข้อมูล การหาข้อมูลและการเรียงลำดับเป็นสำคัญ

อาร์เรย์

อาร์เรย์จะถูกแบ่งออกเป็นหลายๆช่อง โดยมีสิ่งที่เรียกว่า index เป็นตัวระบุว่าข้อมูลนั้นๆอยู่ช่องไหน โดยในภาษาจาวา อาร์เรย์ช่องแรกจะเริ่มต้นที่ index[0] หมายความว่า ถ้าประกาศอาร์เรย์ 100 ช่อง indexหรือช่องสุดท้ายจะเป็น 99

 

 

จากในรูปจะเห็นว่าเราเก็บข้อมูลเป็นจำนวนเต็ม เลข 1 เก็บไว้ใน อาร์เรย์ช่องแรก index[0] และ 16 เก็บไว้ที่ index[4]

 

 

รูป 5-1

 

 

 

จะเห็นว่าว่าอาร์เรย์ข้างบนมี 5 ช่อง แต่มี index[0-4] ถ้าเผลอเก็บข้อมูลไว้ที่ index[5] จะ error

 

รูป 5-2

เป็นการประกาศอาร์เรย์ 3 ช่อง ดังนั้น index จะมีเพียงแค่ index[0]  index[1]  index[2] พอไปเก็บไว้ที่index[3] ก็จะ เกิด error ต้องระวังไว้ว่าช่องแรกเริ่มที่ 0 เสมอ

 

รูป 5-3

วิธีการประกาศตัวแปรชนิดอาร์เรย์ 1 มิติ

ชนิดตัวแปร [ ] ชื่อตัวแปร;

ชนิดตัวแปร ชื่อตัวแปร[ ];

เช่น int a [ ];                  หรือ      int [ ]a;

 

            อาร์เรย์เป็นอ็อปเจ็ค เวลาสร้างอาร์เรย์ใช้จริงๆต้องใช้คีย์เวิร์ด new คือข้างบนแค่ประกาศเหมือนประกาศตัวแปรทั่วไป แต่การ new คือจะเราอาร์เรย์มาใช้ก็เหมือนการจะให้ค่ากับตัวแปร

 

ชื่อตัวแปร = new ชนิดตัวแปร[ ขนาดของอาร์เรย์ที่อยากได้];

a = new int [5];

แต่จริงๆคือประกาศตัวแปรและเรียกใช้อาร์เรย์ในบรรทัดเดียวกันก็ได้

int a[ ] = new int [5];

อันนี้เท่ากับว่าประกาศตัวแปร x เก็บข้อมูลชนิด int ใส่ อาร์เรย์ 1 มิติ

 

รูป 5-4

 

 

            เมื่อเรา ประกาศตัวแปรa[ ] เราก็ได้กล่อง a ขึ้นมาแต่พอเรา new ก็จะได้บล็อกแถวข้างๆออกมา ต้องมีทั้งกล่องและบล็อกที่จะเอากล่องไปใส่ถึงจะสามารถใช้อาร์เรย์ได้สมบูรณ์

การอ้างอิงอาร์เรย์เดียวกัน

            ในอาร์เรย์ตัวแปรอาร์เรย์สามารถชี้ไปที่อาร์เรย์เดียวกันได้ โดยใช้เครื่องหมาย = กล่าวคือเครื่องหมาย = ในจาวามีได้ 2 ความหมาย คือ

1.ตัวแปรธรรมดา = คือเอาค่าทางขวาไปใส่ทางซ้าย เช่น x = 3; คือเอา 3 ไปใส่ x

2.ตัวแปรอาร์เรย์  = คือตัวทางซ้ายกับตัวทางขวา ชี้ไปที่ อาร์เรย์เดียวกัน เช่น

 

int [ ]d = new int [5];

int [ ]a = d;

 

รูป 5-5

 

            สร้างอาร์เรย์ d ขึ้นมา 5 ช่อง d ก็จะชี้ไปที่อาร์เรย์ 5ช่อง พอสร้าง a ขึ้นมาก็ให้ชี้ไปที่เดียวกับที่ d ชี้อยู่ โดยใช้ เครื่องหมาย =

กำจัดขยะด้วย Garbage collector

            ในจาวาอาร์เรย์ที่ไม่มีตัวแปรอ้างอิงจะถูกกำจัดเพื่อให้ประหยัดหน่วยความจำ

 

int a = new int[6];

a = new int[2];

 

รูป 5-6

 

ตัวอย่างการสร้าง เพิ่ม และใช้งานอาร์เรย์

ให้รับข้อมูลใส่อาร์เรย์10ตัวถามว่าในอาร์เรย์มีเลขคู่หรือไม่มี

 

รูป 5-7

 

บรรทัดที่ 8 : ใช้ Scanner เพื่อรับข้อมูลจากทางแป้นพิมพ์(Scanner ก็ใช้วิธีการ new เช่นเดียวกับ array)

บรรทัดที่ 9 : ประกาศตัวแปร x เป็นอาร์เรย์ โดยกำหนดขนาดอาร์เรย์เป็น 10 ช่อง

บรรทัดที่ 10 : จากนั้นวนลูป for โดยมีเงื่อนไขคือ i<x.length โดย .length หมายความว่า ขนาดของ กล่าวคือ

        ตราบเท่าที่ i ยังไม่เกินขนาดของอาร์เรย์ x ให้ทำการรับข้อมูลต่อ

บรรทัดที่ 13 : ให้x[ ] เก็บข้อมูลจากการวนลูปของ i

บรรทัดที่ 15 : ประกาศตัวแปร count สำหรับใช้นับว่ามีจำนวนที่เป็นเลขคู่หรือไม่

บรรทัดที่ 16 : ใช้ลูปวน for วนลูปเท่าขนาดอาร์เรย์อีกครั้ง

 

บรรทัดที่ 18 : ใช้เงื่อนไขเพื่อตรวจสอบว่าในอาร์เรย์มีจำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัวหรือไม่

บรรทัดที่ 20-21 : หากมีตัวที่เป็นไปตามเงื่อนไขของบรรทัดที่ 18 ให้ทำ count นับ 1 และทำการ break; ออก

จากลูปเลยเพราะมีอย่างน้อย 1 ตัวเป็นเลขคู่ก็หมายความว่า อาร์เรย์นี้มีเลขคู่

บรรทัดที่ 24 – 31 : สร้างเงื่อนไขอีก ถ้า count มากกว่า 0 ให้ แสดงผลว่ามีเลขคู่ แต่ถ้าไม่มีให้บอกไม่มี

ได้ผลลัพธ์ดังนี้

 

รูป 5-8

การหาค่ามากสุด

 

รูป 5-9

            โปรแกรมนี้ต้องการทำให้โปรแกรมเรียงลำดับของอาร์เรย์จากน้อยไปมากและแสดงผลออกทางหน้าจอ

บรรทัดที่ 9 : ประกาศอาร์เรย์ x ขนาด 10 ช่อง

บรรทัดที่ 11-15: ทำการวนลูปโดยให้ลูปมีขนาดเท่ากับอาร์เรย์ จากนั้นทำการ random ตัวเลข0-50 มาใส่ใน

อาร์เรย์ จากนั้นแสดงผลออกทางหน้าจอ

บรรทัดที่ 17-19 : จากนั้นจะทำการเปรียบเทียบค่าในอาร์เรย์ทีละสองตัวเพื่อเรียงลำดับโดยให้ลูปแรกมีขนาด

เท่ากับอาร์เรย์ที่เราประกาศ ส่วนลูปที่ 2 ลดขนาดลง 1 เพราะไม่ต้องทำการเปรียบเทียบกับตัวเอง

บรรทัดที่ 21 :สร้างเงื่อนไง ถ้า ตัวก่อนหน้า x[i] มากกว่า ตัวข้างหลัง x[i+1]

บรรทัดที่ 23 : สร้างตัวแปร temp มาเก็บค่า x[i]

บรรทัดที่ 24 : เอาค่า x[i+1] มาใส่ x[i]

บรรทัดที่ 25 : จากนั้นเอา temp ที่เก็บค่าเดิมของ x[i] มาใส่ที่ x[i+1]

            พูดง่ายๆก็คือถ้าอาร์เรย์มันเป็นแถวบล็อกยาวๆ แล้ว x[i] มันมากกว่า x[i+1] ก็ให้สลับค่ากัน ค่าที่มากกว่าจะได้มาอยู่ฝั่งขวาแล้วพอวนลูปรอบต่อไปค่ามากกว่าก็จะดูว่าตัวเองมากกว่าตัวถัดไปหรือเปล่าถ้าใช่ก็สลับอีก สลับจนตัวมากกว่าสุดไปอยู่ขวาสุด

บรรทัดที่ 31 : ให้แสดงผลออกทางหน้าจอ

บรรทัดที่ 31 : ใช้เมท็อด Arrays.toString(int []) เพื่อช่วยพิมพ์ข้อความออกมาเป็นรูปแบบอาร์เรย์สวยๆ

ผลลัพธ์ที่ได้หลังจากสลับกันจนเรียบร้อยแล้ว

 

รูป 5-10

อาร์เรย์ 2 มิติ

            เนื่องจากอาร์เรย์มีลักษณะเป็นแถวๆจึงสามารถสร้างแถวได้มากกว่า 1 กล่าวคือสร้าง 2แถวติดกันก็ได้

วิธีการสร้างอาร์เรย์ 2มิติ ก็เพิ่ม [ ] มาอีก 1 อัน

int a[ ][ ]= new int [5][5];

            แบบนี้ก็จะได้ตารางอาร์เรย์แบบ 5×5 ช่อง

 

แผนผังการเรียนเขียนโปรแกรม

 

___________________

รับสอนเขียนJAVA , C# , VB.net

โทร 0853507540

___________________

 

ใส่ความเห็น